จามจุรี

ชื่อวงศ์-อนุวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacq.) Merr.

ชื่อสามัญ : East indian walnut, Rain tree

ชื่อพื้นเมืองอื่น : ก้ามกราม, ก้ามกุ้ง, ก้ามปู, จามจุรี (ภาคกลาง) ; ฉำฉา, สารสา, ลัง, สำสา (ภาคเหนือ) ; ตุ๊ดตู่ (ตาก) ; เส่ดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้น (T) มีขนาดใหญ่สูงได้ถึง 20 เมตร เนื้อไม้อ่อน แตกกิ่งก้านเรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่ม เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ แตกสะเก็ดเป็นร่องตลอดลำต้น

blank

ใบ เป็นใบประกิบขนนกสองชั้นคล้ายใบแค ออกสลับ สีเขียวเข้ม ช่อย่อยมีใบย่อย 2-10 คู่ ลักษณะใบรูปรีหรือรูปขนมเปียกปูนเบี้ยว ปลายใบมน โคนใบมนและเบี้ยว ท้องใบหรือใต้ใบสีเขียวนวล มีขน

ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ แบบช่อกระจุกรูปร่มค่อนข้างกลมตามปลายยอด ดอกมีสีชมพูรูปกรวยขนาดเล็กเชื่อมกันเป็นหลอด มีเส้นเกสรตัวผู้เป็นพู่ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกทั้งฤดูร้อนและฤดูฝน

ผล เป็นผักแบนหนารูปขอบขนาน เมื่อแก่มีสีน้ำตาลอมดำ เนื้อในสีดำนิ่ม รสหวาน เหมือนเนื้อในฝักต้นคูณ

เมล็ด รูปรีค่อนข้างกลม มีประมาณ 15-25 เมล็ด

blank

นิเวศวิทยา

ถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้เขตร้อนไปจนถึงบราซิล เป็นไม้ที่ปลูกง่ายโตเร็ว ไม่นิยมปลูกในบ้านเพราะกิ่งก้าน ใบ จะปกคลุมบ้าน พบขึ้นตามข้างทางทั่ว ๆ ไป

การขยายพันธุ์

สามารถปลูกได้ในทุกสถานที่ เจริญเติบโตง่าย เป็นไม้กลางแจ้งขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

เปลือกต้น รสฝาด สมานแผลในปาก คอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ท้องร่วง แก้โลหิตตกใน

ใบ รสเย็นเมา ทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน

เมล็ด รสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ

วิธีและปริมาณที่ใช้

แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน โดยใช้เมล็ด 10-20 กรัม นำมาโขลกให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ใช้ทาและพอกบริเวณที่เป็นวันละ 2 เวลา

สิ่งที่น่าสนใจ