มะรุม

ชื่อวงศ์ : MORINGACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.

ชื่อสามัญ : Horse radish tree

ชื่อพื้นเมืองอื่น : ผักเนื้อไก่ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ; ผักอีฮึม, ผักอีฮุม, มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ) ; เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; มะรุม (ภาคกลาง, ภาคใต้) ; กาแน่งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดเล็ก (ST) ลำต้นจะเป็นพุ่มโปร่ง มีเปลือกลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกรวมกันเป็นแผง ๆ ละ 5-9 ใบ ลักษณะใบย่อยรูปมนเกือบกลม ปลายใบมน แต่โคนใบแหลมเรียวหรือมนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนบาง มีสีเขียว กว้าง 1-1.5 นิ้ว ใบที่อยู่ปลายสุดมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่นๆ

ดอก ออกดอกเป็นช่อ อยู่ตามข้อบริเวณส่วนยอด ดอกมีสีขาวนวล มีอยู่ 5 กลีบ เกสรกลางดอกเป็นสีเหลืองนวล บานเต็มที่โตประมาณ 1 นิ้ว

ผล เป็นผักกลม ยาว ฝักอ่อนมีสีแดงเรื่อๆ ผักแก่จะมีสีเขียว เปลือกผักหนา มีคลื่นนูนของเมล็ด

เมล็ด เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก มีขนาดประมาณ 1 ซม.

นิเวศวิทยา

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย แต่จะพบทั่วๆ ไปในประเทศอาหรับ เอเชีย และแอฟริกา

การปลูกและขยายพันธุ์

เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ปลูกติดง่าย ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือการปักชำกิ่ง

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

ราก รสหวานขม ขับลมในลำไส้ ทำให้ผายเรอ คุมธาตุอ่อนๆ แก้ลมอัมพาต แก้บวม บำรุงธาตุไฟ

ฝักหรือผล รสหวาน แก้ไข้

ใบสด รสเฝื่อน มีวิตามินซีและเอมาก แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเยื่อเมือกอักเสบ พอกรักษาบาดแผล

ดอก รสจืด เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ และขับน้ำตา

เมล็ด รสจืดมัน แก้ไข้ ใช้ทาภายนอกแก้บวม แก้โรคปวดตามข้อ

วิธีและปริมาณที่ใช้

  1. เป็นยาอายุวัฒนะและแก้หอบหืด โดยใช้เปลือกสดขนาด 2 ฝ่ามือ สับเป็นชิ้นแล้วต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร ประมาณ 10-15 นาที แล้วกรองเอาน้ำดื่มวันละ 1-2 แก้ว
  2. แก้ปวดเมื่อยและชาตามปลายมือปลายเท้า โดยใช้เปลือกมะรุมสดและต้นเหงือกปลาหมอผสมในปริมาณที่เท่ากัน สับแล้วต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร ประมาณ 10-15 นาที กรองเอาน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว

สิ่งที่น่าสนใจ