ถั่วพู

ชื่อวงศ์-อนุวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.

ชื่อสามัญ : Goa bean, Manila pea

ชื่อพื้นเมืองอื่น : ถั่วพู (ทั่วไป) ; บ่อบะปะหลี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้เถาล้มลุก (ExHC) ประเภทเลื้อยพัน มีรากสะสมอาหาร ลักษณะเป็นหัวใต้ดิน เถาหรือลำต้นสามารถเลื้อยได้ แตกกิ่งแขนงหนาแน่น

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะใบรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม และโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มสด ก้านใบยาว

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 3-5 ดอก ลักษณะดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีขาวอมม่วง มีเกสรตัวผู้เป็นกระจุกบริเวณใจกลางดอก

ผล ลักษณะเป็นฝักสี่เหลี่ยม มีครีมหรือปีก 4 ด้านตามยาว ฝักมีความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ภายในจะมีเมล็ด อยู่ประมาณ 20 เมล็ด

เมล็ด ลักษณะของเมล็ดจะเรียบเป็นมัน อาจมีสีขาว น้ำตาล ดำหรือ อาจเป็นจุดก็ได้

ราก จะออกเป็นหัว เป็นปมอยู่ใต้ดิน มีการแตกปม ซึ่งปมนั้นจะเป็นที่อยู่ของแบคทีเรีย แต่ละปมจะมีขนาดใหญ่ จะแตกปมได้ทุกสภาพ ถั่วพูแต่ละต้นจะมีปมอยู่ถึง 600 ปม

นิเวศวิทยา

มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบร้อนเอเชียอาคเนย์ ปาปัวนิวกินี นิยมปลูกตามสวนครัว ไร่นา มีปลูกกันอย่างกว้างขวาง เป็นพืชที่เติบโตง่าย

การปลูกและขยายพันธุ์

สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

ราก รสขื่นขมเล็กน้อย รักษาโรคลมพิษกำเริบ ดีพุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง

หัวใต้ดิน รสมันเย็นขมชื่น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้ดวงจิตแช่มชื่น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ

ฝัก รสมันเย็น แก้ร้อนใน บำรุงกำลัง

ใบ รสมัน ช่วยย่อยอาหารพวกกรดไขมันที่อิ่มตัว

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • ยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย โดยใช้หัวใต้ดิน นำมาเผาหรือนึ่ง รับประทานเป็นประจำ หรืออาจนำหัวใต้ดินนำมาล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กพอประมาณตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาคั่วไฟให้หอมเหลือง ใช้ชงเป็นชาดื่มครั้งละ 2-3 ชิ้น เหมาะสำหรับคนป่วยหนักและมีอาการอ่อนเพลีย

สิ่งที่น่าสนใจ