การเวก

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys siamensis Miq.

ชื่อสามัญ : –

ชื่อพื้นเมืองอื่น : การเวก (ภาคกลาง) ; กระดังงัว, กระดังงาป่า (ราชบุรี) ; หนามควายนอน (ชลบุรี) ; กระดังงาเถา (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้เถา (C) เนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะเป็นรูปตะขอ

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-8 ซม. ยาวประมาณ 5-20 ซม. ปลายใบเป็นติ่งทู่ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อประมาณ 1-5 ดอก ตรงข้ามกับใบ โคนก้านดอกมีมือเกาะ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ ลักษณะรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1-1.6 ซม. ยาว 3.5-4.5 ซม. มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก เมื่ออ่อนดอกมีสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอมแรงโดยเฉพาะตอนเย็น ออกดอกตลอดปี

ผล เป็นผลกลุ่ม 4-20 ผล ลักษณะรูปรีทรงกระบอก มีสีเหลืองเมื่อสุก

นิเวศวิทยา

มีถิ่นกำเนิดอินเดีย ศรีลังกา ปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน

การปลูกและขยายพันธุ์

เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง นิยมทำโครงหลังคาเพื่อให้เถาเลื้อยไปได้

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

ดอก กลีบดอกหนากลิ่นหอมแรง เมื่อลนไฟกลิ่นหอมรุนแรงยิ่งขึ้น เป็นสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอมเย็น น่าพักผ่อนและหลับสบาย น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่น มีราคาแพงมาก

สิ่งที่น่าสนใจ