โกสน

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Codiaeum variegatum Blume

ชื่อสามัญ : –

ชื่อพื้นเมืองอื่น : กรีกะสม, กรีสาเก, โกรต๋น, โกสน (ทั่วไป)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่ม (ExS) สูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีสีน้ำตาลและมีรอยตะปุ่มของใบย่อยที่แตกออกไป

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ มีรูปร่างใบหลายแบบ เช่น ลักษณะใบรูปกลม แถบยาว รูปไข่แกมรูปหอก รูปขอบขนาน รูปยาวแคบ เป็นต้น โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเว้า ซึ่งบางพันธุ์เว้าถึงเส้นกลางใบ ปลายใบทู่หรือแหลม สีเขียวหรือลายมีเส้นแขนงใบประมาณ 10 คู่ ก้านใบยาว 3-5 ซม. ใบบิดเป็นเกลียว มีสีต่าง ๆ เช่น ขาว เหลือง ส้ม ชมพู แดง ม่วงและดำ

ดอก มีขนาดเล็กประมาณ 30-60 ดอก ออกเป็นช่อยาวที่ยอดและตามง่ามใบ ช่อยาว มีดอกจำนวนมาก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกเพศแต่อยู่ต้นเดียวกัน ดอกมีสีขาวอมเขียว กลีบดอก 5-6 กลีบ ออกดอกตลอดปี

ผล เป็นพู 3 พู เป็นชนิดแก่แล้วแห้ง เมื่อแก่แตกได้ มี 3 เมล็ด ลักษณะผลรูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม. สีขาว

เมล็ด ยาวประมาณ 6 มม.

นิเวศวิทยา

มีถิ่นกำเนิด อยู่ในภูมิภาคมาเลเซีย ควีนสแลนด์ตอนเหนือ และหมู่เกาะแปซิฟิก ปลูกกันทั่วไป เป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะและบ้านเรือน

การปลูกและขยายพันธุ์

เจริญเติบโตในดินทั่วๆ ไป เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่งหรือ การตอนกิ่ง

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

ใบ รสเฝื่อน โขลกพอกท้องเด็ก แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • แก้ท้องอืด และระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ โดยใช้ใบสด 10-15 ใบ นำมาโขลกให้ละเอียดอาจจะผสมเหล้าโรงเล็กน้อย แล้วใช้พอกและทาบริเวณท้องเด็ก

ข้อควรทราบ

  • โกสนบางชนิดใช้เป็นผักรับประทานกับอาหารต่างๆ ได้
blank

สิ่งที่น่าสนใจ