
ชื่อวงศ์-อนุวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw.
ชื่อสามัญ : Flower fence, Peacock’s crest, Pride of Barbados
ชื่อพื้นเมืองอื่น : ซมพอ, พญาไม้ผุ, ส้มผ่อ, ส้มพอ (ภาคเหนือ) ; หนวดแมว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; จำพอ, ซำพอ (แม่ฮ่องสอน) ; นกยูงไทย, หางนกยูงไทย (ภาคกลาง) ; ขวางยอย (นครราชศรีมา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม (ExS) สูงประมาณ 1-2 เมตร ทรงพุ่มกลม ต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับ ช่อใบย่อยมีใบย่อย 7-11 คู่ ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้า โคนเบี้ยว ใบสีเขียวแกมเทา
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง มีหลายสีตามพันธุ์ ได้แก่ เหลือง ส้ม แดง ชมพูแก่ และแดงประขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะดอกคล้ายกับนกยูงรำแพน ออกดอกได้ตลอดปี
ผล เป็นฝักแบนคล้ายกับถั่วแปบ เมื่อแก่แตกได้ มีเมล็ดภายใน 8-10 เมล็ด
นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดอเมริกาเขตร้อนหรืออเมริกาใต้ หมู่เกาะเวสต์อินดีส เจริญเติบโตได้ดีในดินทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
การปลูกและขยายพันธุ์
เจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน ทนแล้งได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด โดยเพาะลงในแปลงก่อนแยกเป็นต้นกล้าใส่ถุงดำ
ประโยชน์ทางยา
รสและสรรพคุณในตำรายา
ราก รสเฝื่อน รากต้นหางนกยูงดอกสีแดงนิยมนำมาปรุงเป็นยารับประทานเพื่อนขับโลหิตระดู หรือขับประจำเดือน และแก้วัณโรคระยะบวม
วิธีและปริมาณที่ใช้
- ขับโลหิตระดูหรือขับประจำเดือน โดยใช้รากสดหรือแห้ง 10-15 กรัม ต้มในน้ำเดือด 500 ซีซี แล้วกรองเอาน้ำดื่มวันละ 2-3 ครั้ง
1. โปรดงดเว้นการใช้คำหยาบคาย, ส่อเสียด
2. ทุกความเห็นต้องไม่มีการดูหมิ่น, กล่าวหาให้ร้าย, สร้างความแตกแยก หรือ "กระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ"
3. ทางเว็บไซต์จะขอลบความคิดเห็นโดยทันที เมื่อความเห็นไม่เป็นไปตามข้อตกลง