
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aromatic Salisb.
ชื่อสามัญ : –
ชื่อพื้นเมืองอื่น : ว่านนางคำ(ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก (H) มีลำต้นใต้ดิน ลักษณะเป็นแง่งหรือเหง้า อยู่ในจำพวกขิงและข่า เนื้อในหัวมีสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม
ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรีรูปหอก ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบมนและสอบเรียว เส้นแขนงใบนูนเห็นชัดเจน แผ่นใบกว้าง 15-20 ซม. และยาวประมาณ 30-40 ซม. ขอบใบเรียบ ใบ
เรียงแบบสลับและอยู่กันเป็นกลุ่ม กาบใบสีเขียวอ่อนใหญ่และยาว เส้นกลางใบเป็นร่องมีสีแดงเรื่อๆ แตกออกในแนวเส้นแขนงใบ แผ่นใบสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด มีใบประดับดอกสีเขียวปนขาวเรียงซ้อนกันเป็นชั้นหรือช่อ ดอกจะโผล่ออกมาจากช่อเป็นรูปปากเปิดมีกลีบดอกสีขาวนวล ปลายกลีบดอกประแต้มด้วยสีชมพู
คล้ายกับดอกกระเจียว
นิเวศวิทยา
เป็นพืชที่ขึ้นตามป่าเชิงเขาทั่วๆ ไป ชอบอากาศที่ค่อนข้างร้อนและต้องการความชื้นสูง นิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือหรือสวน คนจีนนิยมปลูกไว้เป็นสินค้า
การปลูกและขยายพันธุ์
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ขายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือการแยกหน่อ
ประโยชน์ทางยา
รสและสรรพคุณในตำรายา
เหง้าหัว รสร้อนฝาดเฝื่อน ใช้ฝนแก้เม็ดผื่นคันและโรคผิวหนังชนิดคันอย่างรุนแรง รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ใช้เหง้าหัวโขลกผสมกับว่านม้า ว่านไพล และว่านพญามือเหล็กอย่างละเท่ากัน ผสมกับสุราพอกแก้ฟกช้ำและข้อเคล็ดหรือห่อทำลูกประคบใช้ประคบแก้โรคเหน็บชา ชาตามกล้ามเนื้อ ชาตามแขนขา
ราก รสร้อนฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาขับเสมหะ ยาสมาน แก้โรคลงท้องหรือท้องร่วง แก้โรคหนองในเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้
- แก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก และเหน็บชา โดยใช้เหง้าหัวว่านนางคำ ว่านม้า ว่านไพล และว่านพญามือเหล็ก จำนวนเท่าๆ กัน หันเป็นแว่นหรือใช้โขลกให้ละเอียดคลุกเคล้ารวมกันห่อด้วยผ้าขาวทำเป็นลูกประคบใช้ประคบตามบริเวณที่มีอาการ
1. โปรดงดเว้นการใช้คำหยาบคาย, ส่อเสียด
2. ทุกความเห็นต้องไม่มีการดูหมิ่น, กล่าวหาให้ร้าย, สร้างความแตกแยก หรือ "กระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ"
3. ทางเว็บไซต์จะขอลบความคิดเห็นโดยทันที เมื่อความเห็นไม่เป็นไปตามข้อตกลง