ละหุ่ง

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ricinus communis L.

ชื่อสามัญ : Castor bean, Castor oil, Palma-christi

ชื่อพื้นเมืองอื่น : คิติ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; มะโห่ง, มะโห่งหิน (ภาคเหนือ) ; ละหุ่งแดง (ภาคกลาง) ; คีเต๊าะ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ; มะละหุ่ง, ละหุ่ง (ทั่วไป) ; ปีมั้ว (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่มกึ่งต้นขนาดเล็ก (S/ST) มีอายุอยู่ได้หลายปี ในบ้านของเราจะมีทั้งละหุ่งขาวและละหุ่งแดง ซึ่งละหุ่งขาวนี้ลำต้นเป็นสีเขียว ละหุ่งแดงลำต้นและก้านใบเป็นสีแดง

blank

ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบจะจักแหลม คล้ายกับฝ่ามือเป็นแผ่นกว้าง ถ้าเป็นละหุ่งขาวก้านใบก็เป็นสีเขียว แต่ถ้าเป็นละหุ่งแดงก้านใบก็เป็นสีแดง

ดอก ออกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้นหรือตรงง่ามใบ ดอกเป็นสีแดง ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน แต่จะอยู่บนต้นเดียวกัน

ผล มี 3 พูและมีหนาม ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ซึ่งเปลือกเมล็ดนี้จะเป็นจุดสีน้ำตาลอมเทาคล้ายกับเห็บ เนื้อในสีขาว

นิเวศวิทยา

เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของอินเดีย แต่จะมีปลูกทั่วๆ ไปในเขตร้อน เช่น แอฟริกา อเมริกาใต้ หมู่เกาะอินดีสตะวันตก ยุโรปตอนใต้ และอินโดนีเซีย

การปลูกและขยายพันธุ์

เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย แต่ถ้าปลูกในที่อากาศเย็นต้นจะไม่สูง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

ราก รสจืดขื่น แก้พิษไข้เชื่องซึม และเป็นยาสมาน แก้ไข้ที่มีพิษร้อน แก้ช้ำรั่ว

ใบ รสจืดขื่น ขับน้ำนม ขับลม ขับเลือด แก้เลือดลมพิการ แก้ปวดท้อง

เมล็ด ภายในเมล็ดละหุ่งจะประกอบไปด้วยน้ำมัน ซึ่งนำมาทำเป็นยาระบาย น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ อุตสาหกรรมทำสี ทำหมึกพิมพ์ เครื่องสำอาง สบู่ แต่ก่อนที่เราจะนำมาทำเป็นยานั้นจะต้องทำลายสารที่เป็นพิษเสียก่อน โดยการนำไปหุง หรือสะตุ เสียก่อน ถ้าไม่เอาออกจะเป็นอันตรายต่อผนังลำไส้ได้

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • เป็นยาระบายในเด็ก โดยการบีบน้ำมันจากเมล็ดแบบไม่ใช้ความร้อน เพียง 1-2 เมล็ด เพราะถ้าบีบโดยใช้ความร้อนจะมีสารพิษไรซิน (Ricin) ออกมาด้วย ซึ่งมีพิษอาจจะทำให้ตายได้

สิ่งที่น่าสนใจ