
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jatropha multifida L.
ชื่อสามัญ : –
ชื่อพื้นเมืองอื่น : ฝิ่นต้น, มะละกอฝรั่ง (กรุงเทพฯ) ; มะหุ่งแดง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มกึ่งไม่ต้นขนาดเล็ก (ExS/ST) สูงประมาณ 6 เมตร ลำต้นเป็นแกนแข็ง ตั้งตรง ไม่มีขน
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงแบบบันไดเวียน ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉก ๆ แบบนิ้วมือ 9-11 แฉก แต่ละแฉกกว้าง ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักแบบขนนก ด้านล่างสีขาวนวล ก้านใบยาว โคนก้านใบมีหูใบซึ่งแตกแขนงเป็นเส้นๆ
ดอก ดอกสีแดง ออกเป็นช่อที่ยอด ก้านช่อยาว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ ปลายมน กลีบดอก 5 กลีบ รูปซ้อน เกลี้ยง ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้
ผล ลักษณะรูปไข่กลับ หรือกลมคล้ายลูกทับทิมอ่อน เมื่อแก่กรีดให้น้ำยางออกมา
นิเวศวิทยา
มีถิ่นกำเนิดตามเขตร้อนทั่วไป เป็นไม้กลางแจ้งปลูกบ้างเป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะและบ้านเรือน
การปลูกและขยายพันธุ์
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ทางยา
รสและสรรพคุณในตำรายา
ราก รสเฝื่อน เผาไฟแล้วรับประทานได้ ต้มเอาน้ำดื่มช่วยย่อยอาหารและแก้โรคลำไส้
เปลือกต้น รสขมร้อนฝาด แก้ลมและโลหิต แก้ปวดเส้นเอ็น คุมธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิดปวดเบ่ง แก้อาเจียน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ยางต้นรักษาแผลอักเสบเรื้อรัง
ใบ รสเมา น้ำต้มใบดื่มเป็นยาถ่าย สระผมแก้เหา และพยาธิผิวหนัง
เมล็ด รสเมาเบื่อ มีน้ำมันประมาณ 30% รับประทานเป็นยาถ่ายอย่างแรงและทำให้อาเจียน แต่มีอันตรายถึงขนาดใช้เป็นยาเบื่อได้ จึงไม่นิยมใช้กัน หีบเอาน้ำมันได้ ใช้ทั้งภายในและภายนอก เป็นยาทำให้แท้งบุตร
วิธีและปริมาณที่ใช้
- แก้โรคลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร โดยใช้รากสดล้างให้สะอาดหั่นแล้วตากแดดให้แห้ง ใช้ประมาณ 5 กรัม นำมาต้มในน้ำ 500 ซีซี กรองเอาน้ำดื่ม ก่อนอาหารเป็นประจำ
1. โปรดงดเว้นการใช้คำหยาบคาย, ส่อเสียด
2. ทุกความเห็นต้องไม่มีการดูหมิ่น, กล่าวหาให้ร้าย, สร้างความแตกแยก หรือ "กระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ"
3. ทางเว็บไซต์จะขอลบความคิดเห็นโดยทันที เมื่อความเห็นไม่เป็นไปตามข้อตกลง