เต่าเกียด

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalomena aromatica

ชื่อสามัญ : –

ชื่อพื้นเมืองอื่น : ซวยโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; เตาเกียด, เต่าเขียด (ภาคกลาง) ; โหรา (ชุมพร) ; ว่านเสน่ห์จันทน์ดำ (ทั่วไป)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก (H) มีลำต้นใต้ดิน ลักษณะเป็นเหง้าหัวและมีเปลือกนอกสีน้ำตาลเหมือนหัวเผือกหรือบอน แข็งและยาว เนื้อในหัวสีแดงเรื่อๆ มีกลิ่นเหม็นเขียวค่อนข้างฉุน ลำต้นที่โผล่พ้นเหนือดินเป็นเพียงกาบก้านใบเท่านั้น

ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรีรูปรีหรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดคล้ายใบโพธิ์แต่ใบค่อนข้างยาว โคนใบรูปเงี่ยงลูกศร ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น เส้นแขนงใบสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แผ่นใบมีสีหม่นหรือน้ำตาลดำ โคนกาบก้านใบและกระดูกท้องใบมีสีดำแดงหรือแดงคล้ำตลอด

ดอก ออกดอกเป็นช่อแต่ไม่มีก้านช่อดอก ลักษณะของดอกคล้ายดอกบอน กาบรองดอกสีเขียวอมเหลืองห่อหุ้มแท่งเกสรอยู่

นิเวศวิทยา

เป็นพืชเมืองร้อน ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้น จะพบได้ตามป่าชื้นทั่ว ๆ ไปหรือขึ้นตามลำธาร

การปลูกและขยายพันธุ์

เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหัวหรือหน่อที่เกิดขึ้นใหม่ หรือการปักชำ

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

ทั้งต้น รสร้อน นำมาโขลกแล้วใช้ทา สามารถแก้โรคผิวหนังได้

เหง้าหัว รสขมเผ็ดร้อนฉุน นำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับใบยาสูบและยานัตถุ์ เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันหอมสีเหลือง มีฤทธิ์กระตุ้นและใช้ผสมกับเครื่องเทศใส่แกงทำให้มีรสหอม นำไปต้มแก้อาการฟกช้ำจากการพลัดตกหกล้มของเด็ก รับประทานแก้โรคตับทรุด แก้โรคตับและโรคปอดพิการ ทำให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ ทางเภสัชแพทย์แผนไทยจัดเข้าทำเนียบพิกัดยา อยู่ในหมู่เบญจผลธาตุ แก้ชักตับ ชักดาบ แก้ไข้เซื่องซึม ขับเสมหะ ทำให้ประสาทหลอน และเป็นยาฆ่าแมลงได้

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • รักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ต้นสดหนัก 10-20 กรัม ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นแล้วนำมาโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อย นำมาทาและพอกบริเวณที่เป็น เช้า-เย็น เป็นประจำ

สิ่งที่น่าสนใจ